วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รำอันเร..ศิลปในหมู่บ้าน

รำอันเร

     รำอันเร เป็นศิลปประจำหมู่บ้านดิฉันเป็นเวลานาน ซึ่งดิฉันก็ไม่ทราบว่ามีมานานเท่าใด แต่ที่รู้คือมีมาตั้งแต่ที่ฉันจำความได้ มีการแสดงประจำทุกปีคือการแสดงขึ้นเขาสวาย ซึ่งแม่ดิฉันได้พาฉันไปหัดซ้อมรำตั้งแต่ที่ฉันตัวน้อยๆ แต่พอโตขึ้นมาก็ไม่ค่อยได้มีโอกาสช่วยงานหมู่บ้านสักเท่าไหร่นัก แต่ผู้ใหญ่บ้านก็ยังสืบทอดประเพณีให้แก่เด็กรุ่นหลังตเรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้


เรือมอันเร หรือ ลูดอันเร เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งในหมู่ชาวไทยเชื้อสายเขมร ในบริเวณอีสานใต้ มีลักษณะคล้ายการละเล่นลาวกระทบไม้ของไทย
เรือมอันเร แต่เดิมนั้นไม่มีบทเพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นแบบฉบับอย่างในปัจจุบัน ผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง คือ ครูปิ่น ดีสม ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกตาพรหม ตำบลโด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้นำบทเพลงพื้นบ้านที่เคยร้องมาบรรจุใส่จังหวะต่างๆ ซึ่งมี 5 จังหวะดังนี้

จังหวะไหว้ครู เกริ่นครู (ถวายครู)
จังหวะเจิงมุย (จังหวะขาเดียว)
จังหวะเจิงปรี (จังหวะสองขา)
จังหวะมะลุปโดง (จังหวะร่มมะพร้าว)
จังหวะกัจปกา ซาปดาน (จังหวะเด็ดดอกไม้)
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ ประกอบด้วย กลองตะโพน ปี่ในหรือปี่อ้อ ซอด้วง ซอตรัวเอ กรับ สาก 1 คู่และไม้หมอน 2 อัน

อุปกรณ์การแสดง

ไม้หมอน 1 คู่ มีขนาดยาว 2-3 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว นิยมใช้ไม้มะค่า หรือ ไม้แดกสาก 1 คู่ ยาวประมาณ 4-6 ศอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว

ดิฉันก็อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาเที่ยวขึ้นเขาสวาย..งานประจำปีของคนสุรินทร์กันเยอะๆน่ะค่ะ. จะได้ดูรำอันเรศิลปประจำหมู่บ้านของดิฉันด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น